รังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology) ของ รังสีวิทยา

Interventional radiology หรือ รังสีร่วมรักษา ในบัญญัติภาษาไทย เป็นการทำหัตถการโดยรังสีแพทย์เป็นส่วนใหญ่(มีแพทย์บางสาขาที่พยายาม เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ) โดยมักใช้เครื่องเอกซเรย์ fluoroscopy, เครื่อง CT,หรือ ultrasound เป็นเครื่องชี้นำทางในการสอด ใส่เครื่องมือต่างๆ เช่น ลวดนำสายสวนหรือเข็มเป็นต้น หัตถการในยุคแรกๆคือการสอดสายสวนเพื่อตรวจดูพยาธิสภาพของเส้นเลือดที่เรียกว่า Angiography ต่อมาได้พัฒนา ให้มีการใส่สารอุดหลอดเลือดที่มีพยาธิสภาพเรียกว่า Embolization มีการขยายหลอดเลือด ที่เรียกว่า Angioplasty โดยใช้สายสวนที่มีบัลลูนที่ตรงปลาย (balloon catheter ) การใส่ลวดถ่างขยายหลอดเลือดที่ตีบ(stent) การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหา พยาธิสภาพ(percutaneous biopsy) การใส่สายระบายเพื่อนำของเสียออกจากส่วนต่างๆของร่างกาย (percutaneous abscess drainage เป็นต้น รังสีแพทย์ที่ทำหัตถการเหล่านี้คือ Interventional radiologist สำหรับรายละเอียดของรังสีร่วมรักษาภาคภาษาไทยหาอ่านได้ที่ www.thaivir.or.th และภาคภาษาอังกฤษสามารถหาอ่านได้ที่ www.sirweb.org